ส่วนกรณีที่ว่าออมสินหันมาปล่อยสินเชื่อรายใหญ่มากขึ้นนั้น ยังยืนยันว่า อยู่ในกรอบของธนาคารรัฐ โดยสินเชื่อรวมทั้งหมดนั้น เป็นการปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ 8% ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีเพียง 80,000 ล้านบาท ขณะที่ปล่อยสินเชื่อรายย่อยถึง 92% และสภาพคล่องที่มีนั้น ใช้นำไปปล่อยสินเชื่อ 80% ส่วนอีก 20% ปล่อยเงินลงทุน อีกทั้ง การที่จะดำเนินการใด ๆ ได้ส่งแผนงานให้กระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติก่อนทุกครั้ง จึงถือว่าทุกนโยบายที่ทำนั้น อยู่ในกรอบแน่นอน
“อย่างไรก็ตาม เมื่อมาดูว่าออมสินทำอะไรในเชิงพาณิชย์ก็พบว่า นั่นคือสิ่งที่เราทำแทน ธปท. กรณีการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ให้แก่ผู้ประกอบการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขณะนี้มีตั๋วเงินดังกล่าวอยู่ 25,000 ล้านบาท แต่เป็นยอดคงค้างเพียง 17,000 ล้านบาท”
นายเลอศักดิ์ กล่าวว่า สิ่งเดียวที่กังวลในการปฏิบัติตามบัญชีมาตรฐานสากล คือ ค่าใช้จ่ายพนักงานบำนาญ เพราะออมสินเป็น 1 ใน 3 ของรัฐวิสาหกิจที่มีระบบบำนาญอยู่ ซึ่งปัจจุบันมีพนักงานทั้งหมด 12,500 ราย มีพนักงานบำนาญ 7,000 ราย มีค่าใช้จ่ายทั้งหมดรวม 45,000 ล้านบาท ที่ออมสินได้นำเอาเงินส่วนนี้มาหักเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยปีละ 5,400 ล้านบาท
“เราไม่เคยขอเพิ่มทุน เราไม่เคยขอเงินอุดหนุนโครงการรัฐในเชิงสังคม (พีเอสเอ) แม้ว่าเราจะดำเนินนโยบายตามที่รัฐบาลมอบหมายให้มาก็ตาม ดังนั้น เชื่อว่าเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะให้เราทำเหมือนแบงก์พาณิชย์นั้น คงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด”.
ที่มาเดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น